วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

กรอบหลักสูตรวิทยาศาสตร์ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐาน

กรอบหลักสูตรวิทยาศาสตร์ Science curriculum framework
หลักสูตรวิทยาศาสตร์พื้นฐาน กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
เป้าหมายของหลักสูตร
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐานเป็นการเรียนรู้เพื่อความเข้าใจ ซาบซึ้งและเห็นความสำคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความรู้วิทยาศาสตร์ที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ โลกและกระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ผู้เรียนจึงต้องเรียนรู้เพื่อนำผลการเรียนรู้ไปใช้ ในชีวิต การเรียนรู้วิทยาศาสตร์มุ่งหวังพัฒนาผู้เรียนให้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นการเชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการได้รับทั้งความรู้ กระบวนการและจิตวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ และการแก้ปัญหาที่หลากหลาย ส่งเสริมให้สนใจและกระตือรือล้นที่จะเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สืบเสาะหาความรู้เพื่อรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ผล นำไปสู่คำตอบของปัญหา สามารถอธิบาย ทำนาย คาดการณ์สิ่งต่างๆได้อย่างมีเหตุผล สามารถสื่อสารสิ่งที่ค้นพบจากการเรียนรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้ สามารถนำความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล สร้างสรรค์และมีคุณธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต การจัดการและร่วมกันดูแลรักษาโลกและทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
สาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ( กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก )
ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของโลก ทรัพยากรทางธรณี ดิน หิน น้ำ อากาศ สมบัติของผิวโลกและบรรยากาศ กระบวนการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก แผ่นธรณีภาคและการเคลื่อนที่ หลักฐานและข้อมูลทางธรณีภาค อายุทางธรณีวิทยา ซากดึกดำบรรพ์ การลำดับชั้นหินและอายุของหิน ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา ความสำคัญและผลกระทบของกระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลกต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 6 : กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6.1 เข้าใจกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของ กระบวนการต่างๆที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศและสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ตัวชี้วัด
1. สืบค้นและอธิบายหลักการในการแบ่งโครงสร้างของโลกสร้างแบบจำลองแสดงโครงสร้างของโลก
2. ทดลองเลียนแบบและอธิบายการกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรณีภาคของโลก
3. ทดลองเลียนแบบและอธิบายกระบวนการเกิดภูเขา รอยเลื่อน รอยคดโค้ง แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด
4. สืบค้นและอธิบายความสำคัญของปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด สึนามิ ที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
และแนวทางในการป้องกันแก้ไข
5. สำรวจ วิเคราะห์และอธิบาย การลำดับชั้นหินจากการวางตัวของชั้นหิน
6. สืบค้นและอภิปรายซากดึกดำบรรพ์และโครงสร้างทางธรณีวิทยาเพื่อธิบายประวัติความเป็นมาของพื้นที่
7. สืบค้น วิเคราะห์และอธิบาย ประโยชน์ของข้อมูลทางธรณีวิทยา
8. ตระหนักถึงความสำคัญ ในการจัดการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและโลกอย่างยั่งยืน

วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

หลักสูตรวิทยาสาสตร์ ของรัฐแมสซาซูเซสส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

เครือรัฐแมสซาชูเซตส์ (The Commonwealth of Massachusetts) เป็น มลรัฐหนึ่งในเขตนิวอิงแลนด์ มีมหาวิทยาลัยชื่อดังหลายแห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สถาบันเทคโนโลยี แมสซาซูแซส มหาวิทยาลัยทัฟส์ เครือรัฐแมสซาชูเซตส์ประกอบไปด้วย 50 เมืองขนาดใหญ่ และ 301 เมืองขนาดเล็ก เมืองขนาดใหญ่ในรัฐได้แก่ บอสตัน สปริงเฟิลด์ วูสเตอร์ โลเวลล์และเคมบรริดจ์
สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology) หรือ เอ็มไอที (MIT) เป็นสถาบันอุดมศึกษาในเมืองเคมบรริดจ์ เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้นำวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลกแห่งหนึ่ง โดยเปิดสอนหลายสาขา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ บุคคลจากเอ็มไอทีรวมถึงศิษย์เก่าและอาจารย์ของสถาบัน ได้เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะ นักการเมือง ผู้บริหาร นักเขียน นักบินอวกาศ นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงต่าง ๆ ซึ่ง ในปัจจุบัน บุคคลในชุมชนเอ็มไอที มี 63 คนได้รับรางวัลโนเบล
ระบบการศึกษาในสหรัฐอเมริกาควบคุมโดยแต่ละรัฐแยกจากกัน เด็กทุกคนจะถูกให้เรียนจบในระดับไฮสคูล

ไฮสกูลในสหรัฐอเมริกา ใช้เวลาศึกษา 4 ปี โดยเริ่มต้นจากชั้นปีที่ 9-12 โดยในบางโรงเรียนจะใช้เวลา 3 ปี โดยจะเริ่มจาก ปีที่ 10-12 โดยบุคคลที่จบไฮสกูลมักจะอายุ 18
ประมาณ 70% ของเด็กนักเรียนอเมริกันจบไฮสกูล โดยผู้ปกครองสามารถเลือกให้ลูกเรียนที่โรงเรียนรัฐบาล หรือโรงเรียนเอกชน นอกจากนี้ยังมีผู้ปกครองบางกลุ่ม ที่สอนให้ลูกเรียนด้วยตนเองที่บ้านหรือในชุมชนซึ่งเรียกลักษณะนี้ว่าโฮ มสคูล ภายหลังจากจบการศึกษา นักเรียนสามารถเลือกเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย ทั้งในมหาวิทยาลัยของรัฐ หรือมหาวิทยาลัยเอกชน โดยนักเรียนสามารถกู้เงินจากทางธนาคารหรือหน่วยงานราชการสำหรับจ่ายเป็นค่าเล่าเรียนในระดับนี้ และจ่ายคืนภายหลังจบการศึกษา
โรงเรียนอนุบาล (Kindergarten)ชีวิตการเรียนของเด็กอเมริกัน เริ่มต้นด้วยโรงเรียนเตรียมอนุบาล หรือโรงเรียนอนุบาล ตั้งแต่อายุประมาณ 3 ขวบโรงเรียนประถมศึกษา (Elementary Schools)เด็กอเมริกันจะเข้าเริ่มเรียนอย่างจริงจังเมื่ออายุ 6 ขวบบริบูรณ์ คือเข้าเรียนในชั้น Grade 1
ระบบการศึกษาของประเทศอเมริกา จะจัดแบ่งออกเป็น Grade 1 ถึง Grade 12 ซึ่งโดยหลังการแล้ว จะจัดแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 คือ Grade 1 ถึง Grade 6 หรือระดับประถมศึกษา (Elementary School)
โรงเรียนมัธยมศึกษา (Junior High Schools/ High Schools)
ช่วงที่ 2 คือ Grade 7 และ Grade 8 หรือระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (Junior High Schools) และช่วงที่ 3 คือ Grade 9 ถึง Grade 12 เป็นระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (Senior High School) โดยทั่วไปสำหรับเด้กที่เข้าเริ่มเรียนตามปกติ และเรียนต่อเนื่องไปโดย ไม่ขาดตอน จะสำเร็จการศึกษา Grade 12 เมื่อ อายุประมาณ 18 ปี นักเรียนในระดับ นี้ต้องเรียนวิชาพื้นฐานคือ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา

วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ทัสนคติที่มีต่อมาตรฐานการประเมินครูวิทยาศสตร์ของสสวท.

มาตรฐานการประเมินครูวิทยาศาสตร์ เป็นมาตรฐานที่ครอบคลุม ด้านความรู้ การแสดงออกและความสามารถของครูวิทยาศสตร์ ครูสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรม ปรับปรุงพัฒนา การเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้เรารู้จุดเด่นจุดด้อยของตนเองและพร้อมที่จะพัฒนาตัวเองในทุกด้าน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากถ้าครูสามารถทำได้จนเป็นกิจวัตร เพราะผลที่ตามมาคือประโยชน์ที่เกิดต่อนักเรียน และการศึกษาของชาติที่มีมาตรฐานต่อไป