วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

กรอบหลักสูตรวิทยาศาสตร์ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐาน

กรอบหลักสูตรวิทยาศาสตร์ Science curriculum framework
หลักสูตรวิทยาศาสตร์พื้นฐาน กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
เป้าหมายของหลักสูตร
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐานเป็นการเรียนรู้เพื่อความเข้าใจ ซาบซึ้งและเห็นความสำคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความรู้วิทยาศาสตร์ที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ โลกและกระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ผู้เรียนจึงต้องเรียนรู้เพื่อนำผลการเรียนรู้ไปใช้ ในชีวิต การเรียนรู้วิทยาศาสตร์มุ่งหวังพัฒนาผู้เรียนให้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นการเชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการได้รับทั้งความรู้ กระบวนการและจิตวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ และการแก้ปัญหาที่หลากหลาย ส่งเสริมให้สนใจและกระตือรือล้นที่จะเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สืบเสาะหาความรู้เพื่อรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ผล นำไปสู่คำตอบของปัญหา สามารถอธิบาย ทำนาย คาดการณ์สิ่งต่างๆได้อย่างมีเหตุผล สามารถสื่อสารสิ่งที่ค้นพบจากการเรียนรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้ สามารถนำความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล สร้างสรรค์และมีคุณธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต การจัดการและร่วมกันดูแลรักษาโลกและทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
สาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ( กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก )
ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของโลก ทรัพยากรทางธรณี ดิน หิน น้ำ อากาศ สมบัติของผิวโลกและบรรยากาศ กระบวนการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก แผ่นธรณีภาคและการเคลื่อนที่ หลักฐานและข้อมูลทางธรณีภาค อายุทางธรณีวิทยา ซากดึกดำบรรพ์ การลำดับชั้นหินและอายุของหิน ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา ความสำคัญและผลกระทบของกระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลกต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 6 : กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6.1 เข้าใจกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของ กระบวนการต่างๆที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศและสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ตัวชี้วัด
1. สืบค้นและอธิบายหลักการในการแบ่งโครงสร้างของโลกสร้างแบบจำลองแสดงโครงสร้างของโลก
2. ทดลองเลียนแบบและอธิบายการกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรณีภาคของโลก
3. ทดลองเลียนแบบและอธิบายกระบวนการเกิดภูเขา รอยเลื่อน รอยคดโค้ง แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด
4. สืบค้นและอธิบายความสำคัญของปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด สึนามิ ที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
และแนวทางในการป้องกันแก้ไข
5. สำรวจ วิเคราะห์และอธิบาย การลำดับชั้นหินจากการวางตัวของชั้นหิน
6. สืบค้นและอภิปรายซากดึกดำบรรพ์และโครงสร้างทางธรณีวิทยาเพื่อธิบายประวัติความเป็นมาของพื้นที่
7. สืบค้น วิเคราะห์และอธิบาย ประโยชน์ของข้อมูลทางธรณีวิทยา
8. ตระหนักถึงความสำคัญ ในการจัดการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและโลกอย่างยั่งยืน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น